วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน


1. จากจูฬเสฏฐิชาดก สัตว์ชนิดใดที่เป็นที่มาเริ่มต้นของทรัพย์ของคนรับใช้ของเศรษฐี
             ก   แมว          
             ข   หนู           
             ค    งู              
             ง   ปลา
2. พระจูฬปันถกสำเร็จพระอรหันต์จากข้อใด
            ก   เห็นซากหนูตาย
            ข    มองเปลวเทียน
            ค    เห็นผ้าที่ลูบคลำ
            ง    บริกรรมคาถา
3.คนรับใช้ของเศรษฐีสามารถรู้ข่าวคราวต่าง ๆ เพราะอะไร
            ก    ผูกไมตรีกับผู้อื่นไว้มาก
            ข    ใช้เงินจ้างผู้แจ้งข่าว
            ค    ขึ้นไปบนที่สูงและคอยสังเกต
            ง    แอบออกไปสืบข่าวอยู่เสมอ

4. คติธรรมที่ได้จากจูฬเสฏฐิชาดกคือข้อใด
           ก     ผู้ที่มีความเพียรย่อมประสบสุข
           ข     ผู้ที่ขยันจะมีทรัพย์มาก
           ค     ผู้มีปัญญาย่อมหาทรัพย์ได้ง่าย
           ง     ผู้มีปัญญาย่อมตั้งตัวได้ เพราะทรัพย์เล็กน้อย
5. คนรับใช้ของเศรษฐีกลับชาติมาเกิดเป็นใคร
           ก     พระพุทธเจ้า         
           ข     พระจูฬปันถกะ
           ค     พระโสณโกฬิวิสะ   
           ง     พระอุรุเวลกัสสปะ
6. จากวัณณาโรหชาดก สัตว์ชนิดใดที่คอยยุยงพญาสัตว์ที่เป็นเพื่อนรักกัน
          ก      หมาป่า                       
          ข      หมาใน
          ค      หมาจิ้งจอก          
          ง      หมูป่า
7. เหตุที่ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสวัณณาโรหชาดก มาจากเหตุการณ์ใด
          ก      การจำพรรษาของอัครสาวก
          ข      การที่พระพุทธองค์ทรงสอนพระจูฬปันถกด้วยผ้าผืนเดียว
          ค      ความสามัคคีของพญาสัตว์ทั้ง 2 ตัว
          ง      ความเกียจคร้านในการปฏิบัติธรรมของพระติสสะ
8. พญาสัตว์ทั้ง 2 กลับชาติมาเป็นใคร
         ก       พระพุทธเจ้า         
         ข       บุรุษกินแดน
         ค       พระอัครสาวก               
         ง       พระอานนท์
9. บุรุษวิฆาสาท หมายถึงข้อใด
         ก       ผู้รับใช้พระภิกษุ
         ข       โยมอุปัฏฐาก
         ค      คนที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้า
         ง       คนที่กินอาหารเหลือจากพระฉัน
10. คติธรรมที่ได้จากวัณณาโรหชาดก คือ ข้อใด
         ก       ผู้เบาปัญญาจะเชื่อคำยุยง
         ข      ความเกียจคร้านทำให้คนล่มจม
         ค       การพึ่งพาผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ดี
         ง       การพูดส่อเสียดทำให้เกิดโทษ

วีดีโอ สื่อการสอน เรื่อง จูฬเสฏฐิชาดก






แผนการสอนเรื่อง ชาดก


แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                     ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
หน่วยการเรียนรู้ที่  11              เรื่อง ประวัติสาวก ชาดก และชาวพุทธตัวอย่าง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  11     เรื่อง จูฬเสฏฐิชาดก                 เวลา  1  ชั่วโมง
สัปดาห์ที่     15                        วันที่ 7 เดือน มกราคม พ.ศ.  2556
ครูผู้สอน   นางสาวจิดาภา   แสงอรุณ

มาตรฐานการเรียนรู้
                มาตรฐาน ส 1.1  รู้และเข้าใจประวัติความสำคัญ  ศาสดา  หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น  มีศรัทธาที่ถูกต้อง  ยึดมั่น  และปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ตัวชี้วัด
               มฐ.ส 1.1 ป.4/3  เห็นคุณค่าและปฏิบัติตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก  ชาดก  เรื่องเล่า  และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด 

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
  1. สามารถนำเสนอและสรุปข้อคิดจากชาดก (K)
  2. จำแนกข้อมูลจากเนื้อเรื่องของชาดกได้ถูกต้อง (P)
  3. เห็นคุณค่าและนำข้อคิดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (A)

สาระสำคัญ
             ชาดก  คือ เรื่องราวเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ในสมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์   โดยแสดงถึงความเป็นมาในชาติต่างๆ ที่ได้เกิดมาสร้างบารมี เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจะยกชาดกซึ่งเป็นนิทานอิงธรรมมาเล่าเป็นบุคลาธิษฐานคือเป็นวิธีการสอนแบบนำนิทานมาประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย

สาระการเรียนรู้
  • ความรู้

          ชาดกเรื่อง  จูฬเสฏฐิชาดก
  • ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด

          การจำแนก  การให้เหตุผล  การสรุปความรู้
  • คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงนิทานชาดกในความคิดของนักเรียน ว่านิทานชาดกที่นักเรียนเคยเห็น หรือเคยได้ยินมีลักษณะอย่างไร เคยนำคุณธรรมที่ปรากฏในชาดกมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ ให้นักเรียนออกมาเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนๆฟัง พร้อมทั้งสนทนากันในเรื่องของชาดกตามความคิดของนักเรียน

ขั้นสอนหรือขั้นประสบการณ์
  1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับประวัติของจุลกะเศรษฐี และคุณธรรมของเรื่องจูฬเสฏฐิชาดก
  2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4 – 5  คน ทำการศึกษาค้นคว้า และอภิปรายกลุ่ม เรื่อง คุณธรรมที่ได้จากเรื่องจูฬเสฏฐิชาดก
  3. ครูเปิดวีดีโอเรื่องจูฬเสฏฐิชาดกให้นักเรียนได้ศึกษา
  4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาสรุปข้อคิดและคุณธรรมที่ได้จากเรื่องจูฬเสฏฐิชาดก
  5. ครูสรุปเรื่องราวของจูฬเสฏฐิชาดก และตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามดังต่อไปนี้

  •       ทำไมชายหนุ่มผู้เป็นเด็กรับใช้จึงกลายเป็นเศรษฐี (เพราะรู้จักการทำให้ทรัพย์ที่มูลค่าเพียงเล็กน้อยเพิ่มมูลค่าทรัพย์ให้มากขึ้นได้ โดยใช้สติปั­­ญญาของตนเอง)
  •       จูฬกเศรษฐีมีคุณธรรมใด (รู้จักกตัญญูเศรษฐีผู้ที่ให้โอกาสตนและมีปัญญ­­าฉลาดสามารถสร้างฐานะด้วยทรัพย์ที่มีมูลค่าเพียงเล็กน้อยได้)
  •       ชาดกเรื่องนี้ต้องการสอนอะไร (ให้รู้จักการใช้ปัญญ­­าในการแสวงหาทรัพย์)
  •       จูฬกเศรษฐีเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนในเรื่องใด (มีความเพียร-พยายามและอดทน)
ขั้นสะท้อนความคิด
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมาอภิปรายถึงประโยชน์ของแผนที่ พร้อมทั้งสามารถบอกถึงแนวทางการนำแผนที่ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขั้นทฤษฎี
  • ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำ กิจกรรม
  • ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้จากสื่อวีดีทัศน์
ขั้นนำไปใช้
  • ให้นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่า จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง จูฬเสฏฐิชาดก ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร สรุปผลการอภิปรายออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
  • ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากการเรียน พร้อมทั้งซัก – ถาม ในสิ่งที่นักเรียนอยากรู้หรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนรู้ในหน่วยการเรียน
การจัดบรรยากาศเชิงบวก
  • ครูให้โอกาสนักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและชื่นชมนักเรียนที่มีความตั้งใจเรียน
  • ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาเรื่องราวที่เรียนจากสื่อวีดีทัศน์
สื่อการเรียนรู้
  • หนังสือเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.4
  • สื่อวีดีทัศน์เรื่อง จูฬเสฏฐิชาดก
  • ใบความรู้
  • ใบงาน

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

วิธีการวัดและประเมินผล
  • สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • ฟังรายงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
เครื่องมือ
  • แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
เกณฑ์การประเมิน
  • การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการถือว่า ผ่าน  ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน

ประมวลรายวิชา

ประมวลรายวิชา
รหัสวิชา  ส ๑๔๑๐๑
ชื่อวิชา สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม
หน่วยกิต : 1 หน่วยกิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ปีการศึกษา : 2555
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จิดาภา  แสงอรุณ
สถานภาพวิชา : พื้นฐาน
จำนวนคาบ : 2 คาบ / สัปดาห์
ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 4 
คำอธิบายรายวิชา : วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ประกอบมาจากหลายแขนงวิชา จึงมีลักษณะเป็นสหวิทยาการจากแขนงวิชาต่างๆในสาขาสังคมศาสตร์มาหลอมรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ จริยธรรม ประชากรศึกษา สิ่งแวดล้อมศึกษา รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา ปรัชญาและศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเป็นพลเมืองดีให้แก่ผู้เรียน โดยมีเป้าหมายของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ด้านเจตคติและค่านิยม ให้กับผู้เรียนต่อไป
เนื้อหาที่เรียน  
หน่วยการเรียนรู้/
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
เวลา/
จำนวนชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
พระพุทธ
6
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
1
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
พุทธประวัติ
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
ชาดก
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
ประวัติศาสดาของศาสนาต่าง ๆ
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
พระธรรม
8
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
6
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
พุทธศาสนสุภาษิต
2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
พระสงฆ์
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
พุทธสาวกและชาวพุทธตัวอย่าง
2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การปฏิบัติตนดี
10
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
หน้าที่ชาวพุทธ
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
มารยาทชาวพุทธ
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
ศาสนพิธี
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11
การบริหารจิตและการเจริญปัญญา
4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย
5
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12  
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13  
การเลือกตั้ง
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14  
พระมหากษัตริย์ไทย
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
6
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15
พลเมืองดีของชุมชน
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16
สิทธิพื้นฐานของเด็ก
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17
การเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามที่ดี
1
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
วัฒนธรรมไทยในภูมิภาคต่าง ๆ
4
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19
วัฒนธรรมไทยในภูมิภาคต่าง ๆ
4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
เศรษฐศาสตร์น่ารู้
4
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20
การผลิตและการบริโภค
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21
เงิน
2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เศรษฐกิจพอเพียง
4
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22
เศรษฐกิจพอเพียง
4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10
เวลา ยุคสมัย และหลักฐานทางประวัติศาสตร์
4
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23
ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ
1
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
1
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย
4
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 26
การตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25
หลักฐานในท้องถิ่นที่แสดงพัฒนาการของมนุษยชาติ
2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12
อาณาจักรสุโขทัย
8
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28  
พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย
4
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 29  
บุคคลสำคัญสมัยสุโขทัย
2
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 30  
ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
3
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 31
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14
จังหวัดของเรา
4
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 32
จังหวัดของเรา
4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 15
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัด
7
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 33
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัด
3
  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 34
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัด
4

สื่อการเรียนการสอน

  • เอกสารตำราที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
  • ตัวอย่างแผนการสอน
  • ใบความรู้หรือเนื้อหา
  • แบบทดสอบ / แบบฝึกหัด / ใบงาน / ใบความรู้
การวัดและการประเมินผล

  • แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม (ในห้องเรียน)
  • แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
  • คะแนนสอบระหว่างภาคเรียน 
  • คะแนนสอบปลายภาคเรียน