วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แผนการสอนเรื่อง ชาดก


แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                     ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
หน่วยการเรียนรู้ที่  11              เรื่อง ประวัติสาวก ชาดก และชาวพุทธตัวอย่าง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  11     เรื่อง จูฬเสฏฐิชาดก                 เวลา  1  ชั่วโมง
สัปดาห์ที่     15                        วันที่ 7 เดือน มกราคม พ.ศ.  2556
ครูผู้สอน   นางสาวจิดาภา   แสงอรุณ

มาตรฐานการเรียนรู้
                มาตรฐาน ส 1.1  รู้และเข้าใจประวัติความสำคัญ  ศาสดา  หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น  มีศรัทธาที่ถูกต้อง  ยึดมั่น  และปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ตัวชี้วัด
               มฐ.ส 1.1 ป.4/3  เห็นคุณค่าและปฏิบัติตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก  ชาดก  เรื่องเล่า  และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด 

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
  1. สามารถนำเสนอและสรุปข้อคิดจากชาดก (K)
  2. จำแนกข้อมูลจากเนื้อเรื่องของชาดกได้ถูกต้อง (P)
  3. เห็นคุณค่าและนำข้อคิดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (A)

สาระสำคัญ
             ชาดก  คือ เรื่องราวเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ในสมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์   โดยแสดงถึงความเป็นมาในชาติต่างๆ ที่ได้เกิดมาสร้างบารมี เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจะยกชาดกซึ่งเป็นนิทานอิงธรรมมาเล่าเป็นบุคลาธิษฐานคือเป็นวิธีการสอนแบบนำนิทานมาประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย

สาระการเรียนรู้
  • ความรู้

          ชาดกเรื่อง  จูฬเสฏฐิชาดก
  • ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด

          การจำแนก  การให้เหตุผล  การสรุปความรู้
  • คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงนิทานชาดกในความคิดของนักเรียน ว่านิทานชาดกที่นักเรียนเคยเห็น หรือเคยได้ยินมีลักษณะอย่างไร เคยนำคุณธรรมที่ปรากฏในชาดกมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ ให้นักเรียนออกมาเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนๆฟัง พร้อมทั้งสนทนากันในเรื่องของชาดกตามความคิดของนักเรียน

ขั้นสอนหรือขั้นประสบการณ์
  1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับประวัติของจุลกะเศรษฐี และคุณธรรมของเรื่องจูฬเสฏฐิชาดก
  2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4 – 5  คน ทำการศึกษาค้นคว้า และอภิปรายกลุ่ม เรื่อง คุณธรรมที่ได้จากเรื่องจูฬเสฏฐิชาดก
  3. ครูเปิดวีดีโอเรื่องจูฬเสฏฐิชาดกให้นักเรียนได้ศึกษา
  4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาสรุปข้อคิดและคุณธรรมที่ได้จากเรื่องจูฬเสฏฐิชาดก
  5. ครูสรุปเรื่องราวของจูฬเสฏฐิชาดก และตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามดังต่อไปนี้

  •       ทำไมชายหนุ่มผู้เป็นเด็กรับใช้จึงกลายเป็นเศรษฐี (เพราะรู้จักการทำให้ทรัพย์ที่มูลค่าเพียงเล็กน้อยเพิ่มมูลค่าทรัพย์ให้มากขึ้นได้ โดยใช้สติปั­­ญญาของตนเอง)
  •       จูฬกเศรษฐีมีคุณธรรมใด (รู้จักกตัญญูเศรษฐีผู้ที่ให้โอกาสตนและมีปัญญ­­าฉลาดสามารถสร้างฐานะด้วยทรัพย์ที่มีมูลค่าเพียงเล็กน้อยได้)
  •       ชาดกเรื่องนี้ต้องการสอนอะไร (ให้รู้จักการใช้ปัญญ­­าในการแสวงหาทรัพย์)
  •       จูฬกเศรษฐีเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนในเรื่องใด (มีความเพียร-พยายามและอดทน)
ขั้นสะท้อนความคิด
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมาอภิปรายถึงประโยชน์ของแผนที่ พร้อมทั้งสามารถบอกถึงแนวทางการนำแผนที่ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขั้นทฤษฎี
  • ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำ กิจกรรม
  • ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้จากสื่อวีดีทัศน์
ขั้นนำไปใช้
  • ให้นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่า จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง จูฬเสฏฐิชาดก ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร สรุปผลการอภิปรายออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
  • ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากการเรียน พร้อมทั้งซัก – ถาม ในสิ่งที่นักเรียนอยากรู้หรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนรู้ในหน่วยการเรียน
การจัดบรรยากาศเชิงบวก
  • ครูให้โอกาสนักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและชื่นชมนักเรียนที่มีความตั้งใจเรียน
  • ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาเรื่องราวที่เรียนจากสื่อวีดีทัศน์
สื่อการเรียนรู้
  • หนังสือเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.4
  • สื่อวีดีทัศน์เรื่อง จูฬเสฏฐิชาดก
  • ใบความรู้
  • ใบงาน

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

วิธีการวัดและประเมินผล
  • สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • ฟังรายงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
เครื่องมือ
  • แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
เกณฑ์การประเมิน
  • การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการถือว่า ผ่าน  ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น